กรณีนักท่องเที่ยวได้รับคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วคำร้อง ภ.พ.10 และต้นฉบับใบกำกับภาษีเจ้าหน้าที่สรรพากรที่ท่าอากาศยานฯ จะเก็บไว้เป็นหลักฐาน
ไม่ได้ เพราะฐานข้อมูลการจ่ายคำร้อง ภ.พ.10 จะระบุเป็นสาขา ของแต่ละบริษัทฯ
ในการจัดทำคำร้อง ภ.พ.10 ช่องมูลค่าสินค้าจะรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ไว้ด้วย ซึ่งในใบกำกับภาษีจะระบุว่า "รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว"(Vat Included) ต้องการทราบจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างเดียวว่ามีจำนวนเท่าใด จึงต้องคำนวนโดยนำมูลค่าสินค้าคูณด้วย 7 หารด้วย 107
จำเป็นอย่างยิ่งไม่ว่าจะใบกำกับภาษีเต็มรูป หรือใบกำกับภาษีอย่างย่อ ตามที่กฎหมายกำหนด
จะพิมพ์หรือเขียนก็ได้
หากเป็นไปได้ให้นักท่องเที่ยวโทรสอบถามเลขที่หนังสือเดินทางกับทางโรงแรม
ส่งคืนที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ด้วยแบบ คท.8 โดยให้แนบสำเนาแบบ คท.9 ฉบับสุดท้าย, บัตร VRT CARD (ถ้ามี) แล้วปลดป้าย "VAT Refund for Tourists
บัตรเครดิต AMEX ไม่มีการตกลงร่วมกันกับกรมสรรพากร
การกรอกข้อมูลในคำร้อง ภ.พ.10 ส่วนของนักท่องเที่ยวจำเป็นต้องกรอกชื่อ ที่อยู่ให้ครบถ้วนทุกฉบับ เพื่อใช้ในการส่งเอกสารการคืนภาษีให้นักท่องเที่ยว
ถ้านักท่องเที่ยวสามารถแสดงสินค้าและพิสูจน์ได้ว่าเสื้อที่ใส่เป็นสินค้ารายการเดียวกับที่ระบุในคำร้อง ภ.พ.10 และใบกำกับภาษี ซึ่งเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานศุลกากรในการตรวจ
นักท่องเที่ยวที่มีสิทธิขอคืนภาษีฯ ต้องมีคุณสมบัติและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข ที่กฏหมายกำหนดตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว
Luxury Goods ตามหลักเกณฑ์การคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว ได้แก่ 1. อัญมณีที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรือนหรือของรูปพรรณ 2. ทองรูปพรรณ 3. นาฬิกา 4. แว่นตา และ 5. ปากกา ที่มีมูลค่าสินค้าชิ้นละตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป
นักท่องเที่ยวที่ซื้อสินค้าประเภท Luxury Goods ต้องตรวจสินค้าที่สำนักงานศุลกากรและที่สำนักงานคืนภาษีฯ บริเวณด้านในหลังผ่านตม. อีกครั้ง ถึงจะสามารถขอคืนภาษีฯ ได้ ดังนั้นนักท่องเที่ยวจะต้องนำสินค้าประเภท Luxury Goods ติดตัวไปขึ้นเครื่องด้วยเพื่อจะได้แสดงสินค้าให้เจ้าหน้าที่ตรวจอีกครั้ง ณ สำนักงานคืนภาษีฯ
การจัดทำคำร้อง ภ.พ.10 จำเป็นต้องกรอกข้อมูลให้ครบถ้วนทั้งในส่วนของผู้ประกอบการและส่วนของนักท่องเที่ยว ณ สถานประกอบการเนื่องจากผู้ประกอบการต้องจัดเก็บคู่ฉบับไว้ประกอบการลงรายงานด้วย
ไม่ได้ เพราะชื่อผู้ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องตรงกับชื่อผู้ซื้อ เลขที่หนังสือเดินทางในใบกำกับภาษี และการลงลายมือชื่อต้องถูกต้องตรงกับลายมือชื่อในหนังสือเดินทาง(ถ้ามี)
สามารถขีดฆ่าข้อความที่ไม่ใช้หรือเขียนผิดบนคำร้อง ภ.พ.10 ได้ พร้อมเซ็นชี่อกำกับตรงที่มีการแก้ไขด้วย
ไม่ได้ นักท่องเที่ยวต้องผ่านการตรวจสินค้าและประทับตราจากเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ วันที่เดินทางออกเท่านั้น ดังนั้น หากนักท่องเที่ยวเดินทางวันที่ 4 เมษายน 2559 เวลา 04.00 น. นักท่องเที่ยวต้องตรวจสินค้าในวันที่ 4 เมษายน 2559 เท่านั้น
กรณีซื้อสินค้าราคาแพง ที่กรมสรรพากรกำหนด 10 ชนิด ได้แก่ อัญมณีที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรือน หรือของรูปพรรณ ทองรูปพรรณ นาฬิกา
แว่นตา ปากกา โทรศัพท์แบบพกพา กระเป๋า เข็มขัด ที่มีมูลค่าของสินค้าแต่ละชิ้นตั้งแต่ 10,000 บาท หรือสินค้าที่สามารถนำติดตัวไปพร้อมกับ
การเดินทางที่มีมูลค่าของสินค้าต่อชิ้น ตั้งแต่ 50,000 บาท ต้องนำผ่านสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เข้าไปให้เจ้าพนักงานสรรพากรตรวจและ
ประทับตราลงนามกำกับอีกครั้งด้วย
Shop Highlight
คำนวณ
ภาษีที่ได้รับคืน
฿
฿